แหล่งสำหรับจัดหาเงินทุนทางธุรกิจ

ผู้จัดการทางการเงินมีหน้าที่ต้องตัดสินใจว่า ควรจะจัดหาเงินทุนมาจากแหล่งใดและจะจัดหาด้วยสัดส่วนเท่าใด จึงจะทำให้ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนทางการเงิน (financial cost) ต่ำที่สุด ในขณะเดียวกันก็จะต้องไม่เกิดความเสี่ยงภัยทางการเงิน (financial risk) มากจนเกินไป

97M5OSX1XF02XIH93HZRZZYR9

การจัดหาเงินสามารถจัดหาได้จาก 2 แหล่งใหญ่ ๆ คือ

  1. แหล่งเจ้าหนี้หรือหนี้สิน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
  2. หนี้สินระยะสั้น ได้แก่ การซื้อเชื่อ การเบิกเกินบัญชี ตั๋วเงินจ่าย รายได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น
  3. หนี้ระยะปานกลาง ได้แก่ การเช่าทรัพย์สิน การซื้อผ่อนชำระ เป็นต้น
  4. หนี้สินระยะยาว ได้แก่ การกู้ยืมระยะยาว การออกจำหน่ายหุ้นกู้หรือพันธบัตร เป็นต้น

ในการจัดหาเงินจากแหล่งหนี้สินนี้จะมี financial risk สูง แต่มี financial cost ต่ำ (มีความเสี่ยงทางการเงินสูงแต่มีต้นทุนทางการเงินต่ำ)

  1. แหล่งเจ้าของกิจการ ได้แก่ การออกจำหน่ายหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และกำไรสะสม ซึ่งการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเจ้าของกิจการจะเสียต้นทุนทางการเงิน (financial cost) สูง แต่จะมีความเสี่ยงทางการเงิน (financial risk) ต่ำส่วนการพิจารณาสัดส่วนการจัดหาเงินทุนว่าควรจะจัดหาจากแหล่งต่าง ๆ ในสัดส่วนเท่าใด เพื่อให้การจัดหาเงินทุนเป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการชอบความเสี่ยง (risk preference) ของผู้บริหารทางการเงินแต่ละคนว่าชอบความเสี่ยงมากหรือน้อย

ถ้าหากชอบความเสี่ยงมากโครงสร้างเงินทุนก็จะประกอบไปด้วยสัดส่วนของหนี้สินมากกว่าส่วนของเจ้าของ แต่ถ้าไม่ชอบความเสี่ยงโครงสร้างเงินทุนก็จะประกอบไปด้วยสัดส่วนของส่วนของเจ้าของมากกว่าหนี้สิน การตัดสินใจจัดหาเงินทุนจึงเป็นตัวกำหนดต้นทุนของเงินทุน (cost of capital) และความเสี่ยงทางการเงิน (financial risk) หรือความเสี่ยงที่อาจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้เมื่อถึงกำหนดชำระ ซึ่งแหล่งเงินทุนแต่ละแหล่งจะมีคุณลักษณะแตกต่างกันดังนี้

– แหล่งเงินทุนระยะสั้น โดยปกติจะเสียต้นทุนของการจัดหาเงินต่ำ เนื่องจากเจ้าหนี้รับภาระความเสี่ยงในระยะเวลาไม่นานนัก จึงสามารถรับอัตราผลตอบแทนที่ต่ำได้ แต่ความเสี่ยงภัยในการหาเงินจะสูง เนื่องจากผู้จัดหาเงินมีเวลาสั้นในการหาเงินมาชำระหนี้

– แหล่งเงินทุนระยะยาว โดยปกติจะเสีย ต้นทุนของการจัดหาเงินสูง เนื่องจากมีระยะเวลานาน เจ้าหนี้จะรับภาระความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จึงต้องเรียกร้องดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยงที่เจ้าหนี้ได้รับ แต่ความเสี่ยงภัยในการหาเงินต่ำ เนื่องจากผู้จัดหาเงินมีเวลานานในการหาเงินมาชำระหนี้ในการเปรียบเทียบแหล่งของการจัดหาเงินทุนโดยละเอียดว่าแหล่งใดมีความเสี่ยงภัยสูงหรือต่ำกว่า และต้นทุนการจัดหาสูงหรือต่ำกว่า

 

ก็อาจเปรียบเทียบจากการเรียงลำดับการจัดหาเงินทุนจากงบดุลทางด้านขวาหรือด้านหนี้สินและทุนซึ่งโดยปกติจะเรียงลำดับจากแหล่งเงินทุนที่มีระยะสั้นที่สุดไปหาแหล่งที่มีระยะยาวที่สุด หรือเรียงจากความเสี่ยงสูงที่สุดไปหาความเสี่ยงต่ำที่สุดดังนี้

ผู้จัดการทางการเงินที่เลือกจัดหาเงินทุนจากแหล่งระยะสั้นในสัดส่วนที่มากกว่าจะเสียต้นทุนในการจัดหาเงินทุนที่ต่ำแต่มีความเสี่ยงภัยสูง ตรงข้ามกับผู้จัดการทางการเงินที่จัดหาเงินทุนจากแหล่งระยะยาวในสัดส่วนที่มากกว่าจะเสียต้นทุนในการจัดหาเงินทุนสูงแต่ความเสี่ยงภัยจะลดลง

 

This entry was posted in ธุรกิจ and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.